พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848
พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848

พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848 (อังกฤษ: Treason Felony Act 1848) เป็นพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ที่ยังคงมีผลบังคับใช้จนกระทั่งในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติที่มีจุดประสงค์ในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์การกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติถือว่าเป็นโทษระดับการเป็นกบฏต่อแผ่นดินตามพระราชบัญญัติปลุกระดมมวลชน ค.ศ. 1661 (Sedition Act 1661) (ที่ต่อมาคือ พระราชบัญญัติกบฏ ค.ศ. 1795 (Treason Act 1795) ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต แต่โดยทั่วไปแล้วลูกขุนมักจะไม่เต็มใจที่จะเอาโทษกับผู้ที่ถูกกล่าวหาในกรณีที่มีโทษถึงตาย และเป็นที่เชื่อกันว่าถ้าตัดสินลงโทษโดยการเนรเทศไปยังอาณานิคมในออสเตรเลียแล้ว (ที่ในปัจจุบันคือโทษการจำคุกตลอดชีวิต) ก็อาจจะเป็นการทำให้อัตราการตัดสินว่าผิดก็สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ข้อหากบฏสามชนิดถูกลดฐานะลงมาเป็นความผิดทางอาญา (felony) ในปี ค.ศ. 1848 การลดฐานะเกิดขึ้นในสมัยที่การลงโทษโดยการประหารชีวิตในสหราชอาณาจักรอยู่ในระหว่างการเลิกใช้เป็นบทลงโทษสำหรับความผิดหลายชนิด”ความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ” (treason felony) เป็นอาชญากรรมที่รวมทั้งการ ”คิดการณ์ ก่อการ หรือ ตั้งใจ” ที่จะ:ในปี ค.ศ. 2001 หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน ท้าทายพระราชบัญญัติฉบับนี้ในศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งสหราชอาณาจักร (High Court of Justice) แต่ไม่สำเร็จ โดยกล่าวว่าเป็นพระราชบัญญัติทำให้ ”...การสนับสนุนความคิดในการยุบเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ใช้วิธีที่สงบสุขเป็นอาชญากรรมที่มีโทษถูกจำขังได้...”[2] โดยอ้างว่าแม้แต่ พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 (Human Rights Act 1998) ก็ยังได้รับแก้ไขให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมที่ถือว่ารุนแรงเท่านั้นที่เป็นอาชญากรรม ศาลกล่าวว่าข้อกล่าวหาเป็นเพียงสมมติฐานที่ไม่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ เพราะไม่มีผู้ใดที่ถูกกล่าวหาตามมูลที่เสนอโดยการ์เดียนจริง กรณีนี้ในที่สุดก็ถูกนำขึ้นอุทธรณ์ในสภาขุนนางในปี ค.ศ. 2003 สภาขุนนางออกเสียงเป็นเอกฉันท์ว่าการฟ้องร้องเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น เป็นเอกฉันท์ แต่ผู้พิพากษาต่างก็เห็นด้วยกับทัศนคติของลอร์ดเสตนที่ว่า ”มาตราที่ 3 ของพระราชบัญญัติที่ดูเหมือนจะลงโทษผู้ที่สนับสนุนการเป็นสาธารณรัฐเป็นมาตราของกฎหมายจากสมัยที่ผ่านมาแล้ว และไม่เหมาะสมกับสถานะและระบบกฎหมายของสังคมสมัยใหม่ ความคิดที่ว่ามาตราที่ 3 จะรอดจากการพิจารณาโดยใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องวัดเป็นเรื่องที่เกินเลยความเป็นจริง”คดีสุดท้ายที่มีผู้ทำผิดพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1883 แม้ว่าจะมาใช้ตัดสินในออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1916 ในกรณี "Sydney Twelve"

พระราชบัญญัติความผิดอาญาฐานเป็นกบฏ ค.ศ. 1848

เขตอำนาจ สหราชอาณาจักร
แก้ไขเพิ่มเติมโดย Indictments Act 1915
ผู้ตรา 11 & 12 Vict. c. 12
มีพระบรมราชานุญาตเมื่อ 22 เมษายน ค.ศ. 1848
ชื่อเต็ม An Act for the better Security of the Crown and Government of the United Kingdom.